วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด- สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา



สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา



1. สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่
ประเภทอะไรบ้าง 


ตอบ มี 6 ประเภท

         1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
         2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
         3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
         4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
         5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
         6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว



2. คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ คุณค่าของสื่อมวลชนด้านการศึกษาได้ดังนี้ คือ

         1. กระตุ้นความสนใจการรับความรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชน เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นตามความพอใจ ของแต่ละบุคคล แตกต่างจากการเรียนในห้องเรียนที่มีครูบังคับควบคุม
         2. ความเข้าใจเรื่องราวสื่อมวลชนโดยทั่วไป จะเสนอความรู้ข่าวสารที่ผู้รับสามารถรับรู้ และเข้าใจโดยง่าย โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆ
         3. อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ความเชื่อ ค่านิยมของบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่สอนได้ยากด้วยวิธีการสอนทั่วๆไป
         4. คุณค่าของเนื้อหา มีลักษณะที่เป็นคุณค่าสำคัญ 3 ประเภทคือ
4.1 ความหลากหลาย
4.2 ความทันสมัย
4.3 ความเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม สามารถนำไปใช้ได้ทันที
         5. ความสะดวกในการรับ
         6. การลงทุนทางการศึกษาเป็นการลงทุนที่ถูกมาก




3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ 





ตอบข รายการ สำรวจโลก ประโยชน์ที่ได้รับจากรายการนี้คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบโลกที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีชีวิต วัฒนธรรมต่างๆ นวัตกรรม ต่างๆ รอบโลก และอื่นๆอีกมากมาย และยังได้รับความเพลิดเพลินอีกด้วย





แบบฝึกหัด โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา






1.โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง 
โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา 

ตอบ การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ 


2.การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook 

ตอบ เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาได้ เพราะเป็นการผสมผสานของสัญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันในแบบ Real Time ระหว่าง 2 กลุ่ม หรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน และทำให้ผู้ที่ห่างกันสามารถติดต่อสื่อสาร รับข้อมูลข่าวสารกันและกันได้อย่างรวดเร็ว 


3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง

ตอบ 1. ระบบ DSTV เป็นระบบ โทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band 

         2. ระบบ CATV เป็นระบบ โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซึ่งสามารถรับชมได้ ในเขตของกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง


4.ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย 

ตอบ ประโยชน์ ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม คือ เป็นการศึกษาที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-Of-Charge Web-Based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น 


5.นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc
และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม 
ไทยคม 

ตอบ การส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) ประจวบคีรีขันธ์ ไปถึงทุกโรงเรียนทั่วประเทศเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ เพื่อการศึกษามีคุณภาพเท่าเทียมกันทั้งประเทศ และแก้ปัญหา อาทิ เช่น ครูขาดแคลน เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี นอกจากนี้ ครูโรงเรียนไกลกังวนได้ศึกษานอกสถานที่เพื่อถ่ายทอดเป็นความรู้ รายการและได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงได้สอนเรื่องดินและฝนหลวงในรายการศึกษาทัศน์นี้อีกด้วย 


6. ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog

















วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อบรมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา











เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ผมและเพื่อนๆได้เข้าอบรมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา 

วิทยากรได้ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าต่างๆในหอสมุด  เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น  

ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาธิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 
นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม บรืการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์



  การอบรมการใช้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีรายละเอียด ดังนี้

ชั้น 1  เป็นพื้นที่ใช้สอย มีโต๊ะ เก้าอี้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นิสิต
ชั้น 2  สมัครสมาชิก , ยืม-คืน หนังสือ วิทยานิพนธ์ , ยืมระหว่างห้องสมุด , นำชมห้องสมุด , ฝึกอบรมการ   
          สืบค้น OPAC และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ , ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า , หนังสือภาษาต่ง   
          ประเทศ , Book Showroom , มุมต่อต้านการค้ามนุษย์ , มุมคุณธรรม
ชั้น 3  หนังสือภาษาไทย ปีพิมพ์ พ.ศ.2541 - ปัจจุบัน , นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็ก , ถ่ายเอกสาร
ชั้น 4  วารสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว , สืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ , ถ่ายเอกสาร
ชั้น 5  วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก , สารสนเทศภาคตะวันออก , ห้องศึกษากลุ่ม/เดี่ยว
ชั้น 6  ยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ , ชุดศึกษาเทปวีดิทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย เทปเสียง 
          และรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
ชั้น 7  หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , หนังสือภาษาไทย 
          พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526 - 2540 , หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ.1970

ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีดังนี้
ชั้น 2  สมัครสมาชิก , ยืม-คืน หนังสือ วิทยานิพนธ์ ,การสืบค้น OPAC และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชั้น 4  สืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ชั้น 5  สารสนเทศภาคตะวันออก , ห้องศึกษากลุ่ม/เดี่ยว
ชั้น 6  ยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ , ชุดศึกษาเทปวีดิทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย เทปเสียง 
          และรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม











ศึกษานอกสถานที่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา




สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา






       เมื่อออกจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ก็ไปชมทะเลที่ชายหาดบางแสนชมความงามของทะเล ชาดหาด และทิวต้นมะพร้าว สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในภาคตะวันออกใกล้บ้านเรา
สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่สถาบันทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล คือ ได้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆได้เห็นวิธีการให้อาหารในตู้ปลาขนาดใหญ่และได้ความเพลิดเพลินมาก ที่สำคัญยังได้เรื่องรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆ ได้แก่ วัสดุที่เป็น2มิติ 3มิติและวัสดุอิเล้กทรอนิกส์ว่าในสถาบันทางทะเลมีอยู่เช่น ตู้ไฟเป็นวัสดุ2มิติ สื่อทัศนสัญลักษณ์ วจนสัญลักษณ์ ในการใช้ตัวหนังสือแทนคำพูดเพื่อให้ผู้ที่สนใจอ่านหรือคนที่อยากรู้ได้มาหาเพื่อเพิ่มความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม 
     แหล่งเรียนรู้ พร้อมภาพสวยๆ ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผมกับเพื่อนๆได้ไปศึกษานอกสถานที่เมื่อ 
วันที่ จันทร์ 9 กรกฏาคม 2555


จากการที่ได้ไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ความรู้ดังต่อไปนี้




รูปข้าพเจ้า

  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีการจัดแสดง 2 ส่วน คือ สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งอยู่ชั้นล่าง และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล อยู่ชั้นที่ 2 แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ 
 
เมื่อผมไปเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ผมสามารถเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในเรื่องต่อไปนี้ได้ครับ คือเรื่องสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom) และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล ตามแนวปะการัง เขตน้ำขึ้นน้ำลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาเศรษฐกิจ ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตในทะเล บ่อเต่าทะเลและปลาฉลาม ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล 
    
สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ยังแบ่งย่อยออกเป็น สัตว์ในไฟลัมโพริเฟอร์รา (Phylum Porifera) ไฟลัม ซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterata) ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) และ ไฟลัมเอคไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) 
   “
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” “ทำเรื่องเรียน (ยากๆ) ให้เป็นเรื่องเล่น” “เสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้พวกผมจากคำกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าถ้าผมและเพื่อนๆออกไปเรียนรู้นอกสถานที่จะทำให้ผมและเพื่อนๆนั้น มองเห็นภาพรวมขององค์ความรู้ที่เขาจะได้เรียนทั้งหมดได้ชัดเจนขึ้น ผมเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับระบบนิเวศจากบรรยากาศที่จัดแสดงไว้ภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาครับ



ตัวอะไรอยู่ในทะเล เอ่ย?

  กุ้งมังกร เห็นแล้วน้ำลายสอ


นี่อะไรอ่ะ


สวยไหม


ปลาไหลทะเล

ม้าน้ำ
ปลาในถังปลาใหญ่



วาฬยักษ์








วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน







1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ  การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว
สามารถนำมาประยุกต์ใมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษา  
  จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction) 3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback) 4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)ช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษา นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention)
จะเห็นได้ว่าการให้การเสริมแรง การชมและการให้ข้อมูลป้อนกลับช่วยส่งเสริมให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีความสนุกสนาน นักเรียนมีความสุขในการเรียน เกิดการเรียนรู้ที่ดี และพัฒนาไปถึงขั้นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้ยังพบว่า องค์ประกอบอื่นๆก็สามารถนำมาใช้เป็นการเสริมแรงได้ เช่น กิจกรรมการแข่งขัน เกมต่างๆ กิจกรรมที่เน้นทักษะการคิด อารมณ์ขันและความตลกของผู้สอน และบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป เป็นต้น


2.  ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ    เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาเทคนิค วิธีการและวัสดุอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การผลิตสื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เว็บการสอน, E – Learning การจัดรูปแบบการเรียนการสอน การสร้างเทคนิคการสอน เป็นต้น
การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
.- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
.- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
.- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม
.- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
.- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
. ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
.- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
.- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ
.1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
.2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
.1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
.2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
.3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่มจิตวิทยาร่วมสมัยจิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ร่วมสมัย หรือ Contemporary


3. มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่าเป็น  สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร



 ตอบ   ตามความคิดของผม  ผมคิดว่าคำกล่าวนี้ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อเรามองในมุมหนึ่ง แต่ถ้าเราหันมามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะพบว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น มีความจำเป็นในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนได้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้ามีการกล่าวว่าสื่อการสอน ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง เราก็อาจจะบอกกลับไปว่า สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองนั้น เป็นการสิ้นเปลือง หรือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้นักเรียนจำนวนมากได้รับความรู้ ได้รับประโยชน์จากสื่อเหล่านั้น เป็นการลงทุนด้านการศึกษาที่ไม่สูญเปล่า อย่างน้อยความสิ้นเปลืองที่ต้องเสียไปนั้น ก็แลกมากับความรู้ ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งในภายหน้าผู้เรียนก็อาจนำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาสื่อการสอน ประเภทวัสดุ ให้มีสิ้นเปลืองน้อยลงได้ เป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว


4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ


  ตอบ  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และได้กระทำจริงในเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้ สังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบการณ์ ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ ด้วยการรับประสบการณ์ผ่านสื่อต่างๆ แล้วท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียน เรียนจากสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


“กรวยประสบการณ์โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้ 
1. ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
 4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7. โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพแลเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10.ทัศนสัญลักษณ์เช่น แผนที่ แผนภูมิหรือเครื่องหมายต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่างๆ
11. วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด 


5.  สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
  ตอบ   บ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
 Percival  and  Ellington(1984)  และ  De  Kieffer  (1965)  ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท
·  สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
 เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้องใช้เครื่องฉายร่วมด้วย  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่
                      1.1 สื่อภาพ (illustrative  materials)  เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา  เช่น  ภาพกราฟิก  กราฟ  แผนที่  ของจริง  ของจำลอง
                        1.2 กระดานสาธิต  (demonstration  boards)  ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา  เช่นกระดานชอล์ก  กระดานนิเทศ  กระดานแม่เหล็ก  กระดานผ้าสำลี  ฯลฯ 
       1.3 กิจกรรม(activities
·  สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)
เป็นวัสดุและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง  อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอ เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง  เช่น  เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม  เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับ วีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ  คือ  เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี  เข้าไว้ในเครื่องด้วยเพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
  

·  สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
 เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน  เช่น  เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี  เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง  หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง

6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
1. วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
2. อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สาเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น หุ่นจาลอง และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดิทัศน์ สไลด์
3. วิธีการ - กิจกรรม เกม ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา สถานการณ์จาลอง แหล่งความรู้ชุมชน

 
7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร

ตอบ   วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือ
ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ
สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง


  
8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ  เป็นสื่อสารนิเทศที่ใช้ประโยชน์มากในการ เรียนการสอน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กล่องทัศนียภาพ เวทีจำลอง หรือตู้จำลอง คือการจำลองแสดงเหตุการณ์ สถานที่เพื่อให้ผู้เขียนได้เรัยนรู้ถึงเหตุการณ์ใกล้เคียงของจริงมากขึ้น ลักษณะของตู้อันตรทัศน์ประกอบด้วยกล่องสี่เหลี่ยม หรือตู้สี่เหลี่ยม เปิดฝาไว้ด้านหนึ่ง ปิดด้วยกระจกใส หรือเปิดโล่ง ภายในจัดตกแต่งด้วยหุ่นจำลองของตัวอย่างและฉาก เพื่อแสดงเหตุการณ์ในเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการจัดแสดง (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 : 151) เช่น ตู้อันตรทัศน์แสดงเหตุการณ์สงครามเก้าทัพ ณ ทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ในศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี และตู้อันตรทัศน์แสดงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นต้น

9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
ตอบ
1.เตรียมตัวครูและสถานที่ ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนาไปใช้จริงเตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัส ของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจาลองด้วยตนเอง
3.ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง
4.ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น




10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท
ตอบ
}แผนสถิติ                                                                          
                                                        


}แผนภาพ


}แผนภูมิ

}การ์ตูน



}ภาพโฆษณา




}แผนที่และลูกโลก





11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
ตอบ
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย
2. เกิดการเรียนรู้ การศึกษา
3. เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ
4. ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
5. ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด​ การสื่อความหมายโดยใช้งานกราฟิก​ให้มีความน่าสนใจและสามารถสื่อค​วามหมายได้ง่ายจำเป็นต้องมีการอ​อกแบบที่ดีและคำนึงถึงวัตถุประส​งค์ที่ต้องการสื่อความหมาย ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อห​าและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน
3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7.ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในแล​ะภายนอกองค์กร