วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อบรมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา











เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ผมและเพื่อนๆได้เข้าอบรมการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา 

วิทยากรได้ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าต่างๆในหอสมุด  เช่น ระบบสืบค้นวัสดุสารสนเทศ (Web OPAC) การสืบค้นข้อมูลโดยการใช้ฐานข้อมูล EBSCO การสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ วิจัย บทความต่างๆ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยใช้ระบบ ThaiLIS TDC เป็นต้น  

ที่สำนักหอสมุด มีบริการสารสนเทศในรูปเเบบต่างมากมาย อาธิ เช่น หนังสือทั้งภาษาไทยเเละภาษาต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออ้างอิง สื่อโสตทัศน์ ชุดศึกษา VCD DVD ต่างๆ เทปเสียง รายการโทรทัศน์ผ่านดามเทียม บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 
นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีก ได้่เเก่ การนำชมหอสมุด การฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ Book Showroom มุมคุณธรรม บรืการห้องศึกษากลุ่ม-เดี่ยว ห้องมินิโฮมเธียเตอร์



  การอบรมการใช้สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีรายละเอียด ดังนี้

ชั้น 1  เป็นพื้นที่ใช้สอย มีโต๊ะ เก้าอี้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นิสิต
ชั้น 2  สมัครสมาชิก , ยืม-คืน หนังสือ วิทยานิพนธ์ , ยืมระหว่างห้องสมุด , นำชมห้องสมุด , ฝึกอบรมการ   
          สืบค้น OPAC และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ , ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า , หนังสือภาษาต่ง   
          ประเทศ , Book Showroom , มุมต่อต้านการค้ามนุษย์ , มุมคุณธรรม
ชั้น 3  หนังสือภาษาไทย ปีพิมพ์ พ.ศ.2541 - ปัจจุบัน , นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็ก , ถ่ายเอกสาร
ชั้น 4  วารสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว , สืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ , ถ่ายเอกสาร
ชั้น 5  วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก , สารสนเทศภาคตะวันออก , ห้องศึกษากลุ่ม/เดี่ยว
ชั้น 6  ยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ , ชุดศึกษาเทปวีดิทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย เทปเสียง 
          และรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
ชั้น 7  หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , หนังสือภาษาไทย 
          พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526 - 2540 , หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ.1970

ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีดังนี้
ชั้น 2  สมัครสมาชิก , ยืม-คืน หนังสือ วิทยานิพนธ์ ,การสืบค้น OPAC และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ชั้น 4  สืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์
ชั้น 5  สารสนเทศภาคตะวันออก , ห้องศึกษากลุ่ม/เดี่ยว
ชั้น 6  ยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโสตทัศน์ , ชุดศึกษาเทปวีดิทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม-มัลติมีเดีย เทปเสียง 
          และรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม











ศึกษานอกสถานที่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา




สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา






       เมื่อออกจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ก็ไปชมทะเลที่ชายหาดบางแสนชมความงามของทะเล ชาดหาด และทิวต้นมะพร้าว สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในภาคตะวันออกใกล้บ้านเรา
สาระที่ได้จากการไปทัศนศึกษาที่สถาบันทางวิทยาศาสตร์ทางทะเล คือ ได้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของสัตว์ต่างๆได้เห็นวิธีการให้อาหารในตู้ปลาขนาดใหญ่และได้ความเพลิดเพลินมาก ที่สำคัญยังได้เรื่องรู้เกี่ยวกับสื่อต่างๆ ได้แก่ วัสดุที่เป็น2มิติ 3มิติและวัสดุอิเล้กทรอนิกส์ว่าในสถาบันทางทะเลมีอยู่เช่น ตู้ไฟเป็นวัสดุ2มิติ สื่อทัศนสัญลักษณ์ วจนสัญลักษณ์ ในการใช้ตัวหนังสือแทนคำพูดเพื่อให้ผู้ที่สนใจอ่านหรือคนที่อยากรู้ได้มาหาเพื่อเพิ่มความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม 
     แหล่งเรียนรู้ พร้อมภาพสวยๆ ที่ได้จากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผมกับเพื่อนๆได้ไปศึกษานอกสถานที่เมื่อ 
วันที่ จันทร์ 9 กรกฏาคม 2555


จากการที่ได้ไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลได้ความรู้ดังต่อไปนี้




รูปข้าพเจ้า

  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีการจัดแสดง 2 ส่วน คือ สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ซึ่งอยู่ชั้นล่าง และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล อยู่ชั้นที่ 2 แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ 
 
เมื่อผมไปเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ผมสามารถเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในเรื่องต่อไปนี้ได้ครับ คือเรื่องสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom) และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล ตามแนวปะการัง เขตน้ำขึ้นน้ำลง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาเศรษฐกิจ ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร การอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิตในทะเล บ่อเต่าทะเลและปลาฉลาม ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล 
    
สำหรับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ยังแบ่งย่อยออกเป็น สัตว์ในไฟลัมโพริเฟอร์รา (Phylum Porifera) ไฟลัม ซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterata) ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) และ ไฟลัมเอคไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) 
   “
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” “ทำเรื่องเรียน (ยากๆ) ให้เป็นเรื่องเล่น” “เสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้พวกผมจากคำกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าถ้าผมและเพื่อนๆออกไปเรียนรู้นอกสถานที่จะทำให้ผมและเพื่อนๆนั้น มองเห็นภาพรวมขององค์ความรู้ที่เขาจะได้เรียนทั้งหมดได้ชัดเจนขึ้น ผมเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับระบบนิเวศจากบรรยากาศที่จัดแสดงไว้ภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาครับ



ตัวอะไรอยู่ในทะเล เอ่ย?

  กุ้งมังกร เห็นแล้วน้ำลายสอ


นี่อะไรอ่ะ


สวยไหม


ปลาไหลทะเล

ม้าน้ำ
ปลาในถังปลาใหญ่



วาฬยักษ์