วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดระหว่างเรียน







1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงอะไร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ  การเสริมแรง หมายถึง การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ เมื่อทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้ว เพื่อให้ทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก เช่น เมื่อนักเรียนตอบคำถามถูกต้อง ครูให้รางวัล (นักเรียนพอใจ) นักเรียนจะตอบคำถามอีกหากครูถามคำถามครั้งต่อ ๆ ไป  การทำให้ผู้ทำพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจทำได้โดยให้ตัวเสริมแรง (Reinforcer) เมื่อทำพฤติกรรมแล้ว
สามารถนำมาประยุกต์ใมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษา  
  จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction) 3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback) 4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)ช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษา นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention)
จะเห็นได้ว่าการให้การเสริมแรง การชมและการให้ข้อมูลป้อนกลับช่วยส่งเสริมให้บรรยากาศการเรียนการสอนมีความสนุกสนาน นักเรียนมีความสุขในการเรียน เกิดการเรียนรู้ที่ดี และพัฒนาไปถึงขั้นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  นอกจากนี้ยังพบว่า องค์ประกอบอื่นๆก็สามารถนำมาใช้เป็นการเสริมแรงได้ เช่น กิจกรรมการแข่งขัน เกมต่างๆ กิจกรรมที่เน้นทักษะการคิด อารมณ์ขันและความตลกของผู้สอน และบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป เป็นต้น


2.  ทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร
ตอบ    เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาเทคนิค วิธีการและวัสดุอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การผลิตสื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เว็บการสอน, E – Learning การจัดรูปแบบการเรียนการสอน การสร้างเทคนิคการสอน เป็นต้น
การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
.- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
.- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
.- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม
.- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
.- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
. ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
.- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
.- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ
.1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
.2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
.1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
.2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
.3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่มจิตวิทยาร่วมสมัยจิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ร่วมสมัย หรือ Contemporary


3. มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่าเป็น  สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร



 ตอบ   ตามความคิดของผม  ผมคิดว่าคำกล่าวนี้ก็อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อเรามองในมุมหนึ่ง แต่ถ้าเราหันมามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะพบว่าสื่อการสอนประเภทวัสดุนั้น มีความจำเป็นในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนได้ง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ถ้ามีการกล่าวว่าสื่อการสอน ประเภทวัสดุ เป็นสิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง เราก็อาจจะบอกกลับไปว่า สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลืองนั้น เป็นการสิ้นเปลือง หรือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะทำให้นักเรียนจำนวนมากได้รับความรู้ ได้รับประโยชน์จากสื่อเหล่านั้น เป็นการลงทุนด้านการศึกษาที่ไม่สูญเปล่า อย่างน้อยความสิ้นเปลืองที่ต้องเสียไปนั้น ก็แลกมากับความรู้ ประสบการณ์ที่อยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งในภายหน้าผู้เรียนก็อาจนำความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาสื่อการสอน ประเภทวัสดุ ให้มีสิ้นเปลืองน้อยลงได้ เป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว


4. กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ


  ตอบ  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน และได้กระทำจริงในเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้ สังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบการณ์ ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ ด้วยการรับประสบการณ์ผ่านสื่อต่างๆ แล้วท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียน เรียนจากสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


“กรวยประสบการณ์โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้ 
1. ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
 4. การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7. โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8. ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพแลเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10.ทัศนสัญลักษณ์เช่น แผนที่ แผนภูมิหรือเครื่องหมายต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่างๆ
11. วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด 


5.  สื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
  ตอบ   บ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
 Percival  and  Ellington(1984)  และ  De  Kieffer  (1965)  ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท
·  สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
 เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้องใช้เครื่องฉายร่วมด้วย  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่
                      1.1 สื่อภาพ (illustrative  materials)  เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา  เช่น  ภาพกราฟิก  กราฟ  แผนที่  ของจริง  ของจำลอง
                        1.2 กระดานสาธิต  (demonstration  boards)  ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา  เช่นกระดานชอล์ก  กระดานนิเทศ  กระดานแม่เหล็ก  กระดานผ้าสำลี  ฯลฯ 
       1.3 กิจกรรม(activities
·  สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)
เป็นวัสดุและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง  อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอ เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายสไลด์  ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง  เช่น  เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม  เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับ วีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ  คือ  เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี  เข้าไว้ในเครื่องด้วยเพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
  

·  สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
 เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน  เช่น  เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี  เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง  หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง

6. สื่อการสอนที่แบ่งตามแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
1. วัสดุ - สื่อที่ผลิตขึ้น เช่น รูปภาพ แผนภูมิ
2. อุปกรณ์ - เครื่องมืออุปกรณ์ สาเร็จรูป ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง เช่น หุ่นจาลอง และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ เช่น วีดิทัศน์ สไลด์
3. วิธีการ - กิจกรรม เกม ศูนย์การเรียน ทัศนศึกษา สถานการณ์จาลอง แหล่งความรู้ชุมชน

 
7. วัสดุกราฟิกหมายถึงอะไร

ตอบ   วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือ
ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ
สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ วัสดุกราฟิกจัดว่าเป็นสื่อราคาถูก (Low Cost Media) และครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง


  
8. ตู้อันตรทัศน์ มีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ  เป็นสื่อสารนิเทศที่ใช้ประโยชน์มากในการ เรียนการสอน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กล่องทัศนียภาพ เวทีจำลอง หรือตู้จำลอง คือการจำลองแสดงเหตุการณ์ สถานที่เพื่อให้ผู้เขียนได้เรัยนรู้ถึงเหตุการณ์ใกล้เคียงของจริงมากขึ้น ลักษณะของตู้อันตรทัศน์ประกอบด้วยกล่องสี่เหลี่ยม หรือตู้สี่เหลี่ยม เปิดฝาไว้ด้านหนึ่ง ปิดด้วยกระจกใส หรือเปิดโล่ง ภายในจัดตกแต่งด้วยหุ่นจำลองของตัวอย่างและฉาก เพื่อแสดงเหตุการณ์ในเนื้อหาเรื่องราวที่ต้องการจัดแสดง (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 : 151) เช่น ตู้อันตรทัศน์แสดงเหตุการณ์สงครามเก้าทัพ ณ ทุ่งลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ในศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี และตู้อันตรทัศน์แสดงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นต้น

9. หลักการใช้สื่อการสอนประเภทวัสดุสามมิติต้องทำอย่างไร
ตอบ
1.เตรียมตัวครูและสถานที่ ทดลองใช้วัสดุสามมิติก่อนนาไปใช้จริงเตรียมการแก้ปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในการใช้จริง2.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้หรือสัมผัส ของจริงของตัวอย่างหรือหุ่นจาลองด้วยตนเอง
3.ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและทั่วถึง
4.ควรใช้ร่วมกับสื่อการเรียนการสอนชนิดอื่นๆที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น




10. ให้นิสิตหาภาพตัวอย่างวัสดุกราฟิก แต่ละประเภท
ตอบ
}แผนสถิติ                                                                          
                                                        


}แผนภาพ


}แผนภูมิ

}การ์ตูน



}ภาพโฆษณา




}แผนที่และลูกโลก





11. วัสดุกราฟิกมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร
ตอบ
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย
2. เกิดการเรียนรู้ การศึกษา
3. เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ
4. ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
5. ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด​ การสื่อความหมายโดยใช้งานกราฟิก​ให้มีความน่าสนใจและสามารถสื่อค​วามหมายได้ง่ายจำเป็นต้องมีการอ​อกแบบที่ดีและคำนึงถึงวัตถุประส​งค์ที่ต้องการสื่อความหมาย ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อห​าและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน
3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7.ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในแล​ะภายนอกองค์กร





วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา







1.       (Distance Education)
การศึกษาทางไกล


เนคเทค (2545) กล่าวว่าการจัดการศึกษาทางไกลเป็นการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อต่างๆ เน้นการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเวลาศึกษาหาความรู้จากสื่อต่างๆ ที่หลากหลายด้วยตนเอง กำหนดสถานที่เรียนเอง กำหนดเวลาหยุดพักเอง นับว่าเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งหัวใจสำคัญในการเรียนระบบนี้ ก็คือ สื่อต้องมีหลากหลาย และมีการจัดเตรียมอย่างเป็นระบบ ต้องอาศัยนวัตกรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมมาช่วยเสริม
รูปแบบการศึกษาทางไกล
DLRN Research Associate (1995) กล่าวว่ารูปแบบการศึกษาทางไกลมี  2 รูปแบบ คือ ซิงโครนัส (synchronous) และ อะซิงโครนัส (asynchronous)
1.  รูปแบบซิงโครนัส  เป็นรูปแบบที่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดาผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด ต้องมีการนัดเวลา สถานที่ และบุคคล  ประโยชน์ของรูปแบบซิงโครนัสก็คือปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน รูปแบบซิงโครนัสได้แก่ Interactive TV   audiographics, computerconferencing, IRC และ MOO
2. รูปแบบอะซิงโครนัส  เป็นรูปแบบที่ไม่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดานักเรียน และผู้สอน นักเรียนไม่ต้องรวมกลุ่มในสถานที่เดียวกันและเวลาเดียวกัน  นักเรียนอาจจะเลือกช่วงเวลา และวัสดุการเรียนการสอนด้วยตัวเอง แล้วจัดตารางเวลาของตัวเอง รูปแบบอะซิงโครนัสยืดหยุ่นกว่ารูปแบบซิงโครนัส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการติดต่อสื่อสารเช่นเดียวกันกับอีเมล์ รูปแบบอะซิงโครนัสยอมและสนับสนุนการพัฒนากลุ่มชน รูปแบบของการส่งพร้อมกับอีเมล์ listservs, บทเรียนเทปเสียง บทเรียนวิดิทัศน์ บทเรียนทางไปรษณีย์  และ บทเรียนทางเว็บ (แม้ว่าในอนาคตระบบเวบจะเป็นไปได้มากในการใช้รูปแบบซิงโครนัสประโยชน์ของการศึกษาทาง ไกลรูปแบบอะซิงโครนัสคือ ทางเลือกของผู้เรียนในเรื่องสถานที่และเวลา และมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั้งหมด ส่วนข้อจำกัดก็คือปฏิกิริยาสัมพันธ์นั้นขึ้นอยู่กับการใช้อีเมล์ซึ่งต้องอาศัยการเขียนในการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน การศึกษาทางไกลในประเทศไทย
          เชาวลิต ตนานนท์ชัย (2546: 33-36)     กล่าวว่าการปฏิรูปการศึกษาส่งผลให้เกิดการปรับ เปลี่ยนการศึกษาทั้งระบบนับตั้งแต่การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอน ในส่วนของการบริหารจัดการนั้น เน้นให้มีการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อตอบสนองการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่ มาตรา 37 
ได้กำหนดว่ากระทรวงอาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมการบริการและจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาได้
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
       ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้กล่าวถึงมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (กาญจนภิเษก) สถานีรับส่งวิทยุโทรทัศน์ที่โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แพร่ภาพออกอากาศผ่านดาวเทียมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหลายสาขาวิชาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6  วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลรองรับในหลักสูตรวิชาชีพแขนงต่าง ๆ เช่น คหกรรมศาสตร์ ช่างยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตวังไกลกังวล ก็เปิดรับนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย                
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน 50 ล้านบาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นทุนประเดิมก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น และหลังจากนั้นองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลอย่างพร้อมเพียง นอกจากนี้ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนวังไกลกังวล ร่วมกับมูลนิธิฯ ถ่ายทอดสดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาแพร่ภาพทางโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง นับเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน ไม่ว่าร่ำรวยหรือยากจนในทุกภูมิภาคของประเทศได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูผู้สอน โดยเฉพาะในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนชนบทห่างไกลอีกด้วย ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนวังไกลกังวล กับโรงเรียนปลายทาง (Distance Schools) ในพื้นที่ต่างๆ จะมีลักษณะของการโต้ตอบ หรือเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Interactive Communication) ในกรณีของการสอบถามปัญหาหรือคำถามต่างๆ    
            
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มุ่งผลด้านขยายโอกาสในเชิงปริมาณ มีผลให้สถานศึกษาต่างๆ ที่จัดการศึกษาในระบบชั้นเรียน มีโอกาสขยายการดำเนินงานได้ในวงกว้างมากขึ้น สามารถเข้าถึงนักเรียน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว                ในด้านคุณภาพนั้น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมก็ได้มีส่วนช่วยทำให้นักเรียนในชนบทที่ห่างไกล มีโอกาสได้รับความรู้ และศึกษาเล่าเรียนเท่า
เทียมกับนักเรียนในเมือง รวมทั้งยังส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอีกด้วย     

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ซึ่งรวมถึงคณะ กรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 ณ ศาลาดุสิดาลัย ใจความพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ได้พระราชทานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมว่า ... ส่วนที่ได้กล่าวถึงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนั้น ก็เป็นโครงการที่มาหนุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เหมือนกัน เพราะว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ก็หมายความว่าเด็กได้สามารถที่จะเรียนวิชาการต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านภาษาได้ดี ก็สามารถที่จะดำรงชีวิตได้ ได้ดี ได้ดีมาก นอกจากนั้นโรงเรียนที่รายการของการศึกษาทางดาวเทียมนี้ ก็ได้พยายามที่จะให้นักเรียนมีความรู้ทางจริยธรรมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ก็บ่นกันว่า เยาวชนมักจะไม่ค่อยมีจริยธรรม ไม่ค่อยมีความดี ความดีไม่มี เลยทำให้เกิดความเดือดร้อนทั่วประเทศ เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เกี่ยวข้องกับการรุนแรง ความรุนแรงต่างๆ ฉะนั้นการสอนของโครงการการศึกษาทางดาวเทียมนั้น ก็จะทำให้ราษฎรของประเทศชาติ มีคุณสมบัติ มีคุณภาพดีขึ้น ...



สรุป
                การศึกษาทางไกล เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ และเวลา และสามารถบริการแก่ทุกคนที่ต้องการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกเนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี  มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างไร้ขอบเขต เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้มนุษยชาติดำรงอยู่ได้และสามารถตามทันการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน กระจายการเรียนการสอนให้แพร่หลายอย่างกว้างขวาง เข้าถึงผู้เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา  และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง         


2 . “Asynchronous Learning”
มิติใหม่แห่งการศึกษาไทยไร้พรมแดน

คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียน ที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ  ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง  ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face – to – Face Instruction)
Asynchronous Learning 
 แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์  เพื่อการศึกษาทำให้สามารถขจัดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีเวลาตรงกัน ใน ลักษณะตารางสอน  (Synchronous Learning) มีสถานที่ตรงกัน อาจจะเป็นห้องเรียน หรือสถานที่ ใดที่หนึ่งจึงจะมีกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในลักษณะ Face – to – Face  โดยที่ ผู้เรียนและผู้สอน  ไม่จำเป็นต้อง มีเวลาและสถานที่ตรงกัน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการ ของผู้เรียนเอง โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น
·         Multimedia Computer
·          Telephone และ Computer Linking Infrastructure
·         The Internet และ World Wide Web
·         E – Mail
·         Conference System
·         อื่น ๆ เช่น Audio – Video 
ดังนั้น Asynchronous Learning จึงเป็นวิธีการในการจัดการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ไปจากเดิม สามารถนำมาใช้และปฏิบัติได้ดี จึงเป็นนวัตกรรมหนึ่งทางการศึกษาไทยที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

คลิปวีดีโอนวัตกรรมทางการศึกษา








วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555





 1   ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
.. ๒๕๔๕ ได้ระบุไว้ในหมวด ๙ ประกอบด้วย ๔ ส่วนคือ
. สื่อโสตทัศน์
. สื่อมวลชน
. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
 ๔. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น


2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ
1.สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (projected aids) เช่น
 1.1 สไลด์ใช้กับเครื่องฉายสไลด์
 1.2 แผ่นภาพโปร่งใสกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
 1.3 ฟิล์มภาพยนตร์กับเครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น



2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected aids) เช่น รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น

3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio aids) เช่น เทปเสียง แผ่นซีดี วิทยุเป็นต้น
  

3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
(Edgar Dale,1965)
เอ็ดการ์ เดลย์ (Dale, 1969) 

ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ดังนี้
1.  ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
2.  ประสบการณ์รอง  เป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้  อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน  มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป    ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี  ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด  เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ  เช่น  สถานการณ์จำลอง  หุ่นจำลอง   เป็นต้น
3.  ประสบการณ์นาฏการ เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง  เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต  สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม  ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้   เช่น  การแสดงละคร  บทบาทสมมุติ  เป็นต้น
4.  การสาธิต  เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
5.  การศึกษานอกสถานที่  เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง 
6.  นิทรรศการ  เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ ด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
7.  โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ   แต่โทรทัศน์  มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์  เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า การถ่ายทอดสดในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้
8.  การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู  เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
9.  ทัศนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา  
10. วจนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา



4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ  เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก  ระหว่าผู้ส่ง-ผู้รับ  ผ่านสื่อ ช่องทาง  ระบบเพื่อการติดต่อ  รับส่งข้อมูล   ซึ่งกันและกัน







5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ   สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel)
เพราะสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับ เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิทัศน์  เครื่องรับโทรสาร  เครื่องขยายเสียง  รวมทั้งสถานที่และบรรยากาศบริเวณโดยรอบ






6.จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ

ตอบ





จากแบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ส่งสาร (Source or S) คือ ผู้เริ่มต้นการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการเข้ารหัส ซึ่งผู้ส่งสารจะทำหน้าที่ในการสื่อสารได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่าง ๆ 5 ประการคือ
1. ทักษะในการสื่อสาร เช่น ความสามารถในการพูด การเขียน และ ความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล เป็นต้น
2. ทัศนคติ หมายถึง วิธีการที่บุคคลประเมินสิ่งต่าง ๆ โดยความโน้มเอียงของตนเองเพื่อที่จะเข้าถึงหรือเป็นการหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น ๆ เช่น ทัศนคติต่อตนเอง ต่อหัวข้อของการสื่อสาร ต่อผู้รับสาร ต่อสถานการณ์แวดล้อมการสื่อสารในขณะนั้น เป็นต้น
3. ความรู้ หมายถึง ความรู้ของผู้ส่งสาร ในเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ บุคคลหรือกรณีแวดล้อมของสถานการณ์การสื่อสารในครั้งหนึ่ง ๆ ว่ามีความแม่นยำหรือถูกต้องเพียงไร
4. ระบบสังคม ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการสื่อสารของบุคคล เพราะบุคคลจะขึ้นอยู่กับกลุ่มทางสังคมที่ตนเองอยู่ร่วมด้วย
5. ระบบวัฒนธรรม หมายถึง ขนบธรรมเนียม ค่านิยม ความเชื่อ ที่เป็นของตัวมนุษย์ในสังคม และเป็นตัวกำหนดที่สำคัญในการสื่อสารด้วย เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคลต่างวัฒนธรรมกัน อาจประสบความล้มเหลวได้เนื่องจากความคิดและความเชื่อที่มีไม่เหมือนกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร

           ในแง่ของสาร (Message or M) นั้น เบอร์โล หมายรวมถึง ถ้อยคำ เสียง การแสดงออกด้วยสีหน้า อากัปกิริยาท่าทาง ที่มนุษย์สร้างขึ้นในขณะที่เป็นผู้ส่งสาร ถ้าความหมายเป็นทางการ ก็คือ ผลผลิตทางกายภาพที่เป็นจริงอันเกิดจากผลการเข้ารหัสของผู้ส่งสารนั่นเอง ตามความคิดของเบอร์โลนั้น สารมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. รหัสของสาร (message code) เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง หรือรหัสอื่น ๆ
2. เนื้อหา (content)
3. การจัดสาร (treatment) คือ วิธีการที่ผู้ส่งสารเลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การใช้ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ รวมถึง คำถาม คำอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น สารที่ถูกจัดเตรียมไว้ดี จะทำให้เกิดการรับรู้ความหมายในผู้รับสารได้ 
             ส่วนช่องทาง (Channel or C) ช่องทาง ซึ่งเป็นพาหนะนำสารไปสู่ผู้รับสาร และตามทัศนะของเบอร์โล ทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนำสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ประการของมนุษย์ ได้แก่
1. การเห็น
2. การได้ยิน
3. การสัมผัส
4. การได้กลิ่น
5. การลิ้มรส
ประการสุดท้ายในด้านของผู้รับสาร (Receiver or R) นั้น ก็จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติด้านต่าง ๆ 5 ประการ เช่นเดียวกับผู้ส่งสาร คือ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคมและระบบวัฒนธรรม



7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ
1. คำพูด (Verbalisn)
2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)
4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
6. การไม่ยอมรับ (Inperception)


8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ      สาร (Message)   เป็นเรื่องราวที่ส่งออกมาจากผู้ส่งสาร เช่น ข่าวสารความรู้ ความคิดเห็น บทเพลง ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลเหล่านี้  
              e-Learning  เพราะ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อระหว่างบุคคล คือผู้เรียนกับผู้สอน
   

9.ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล
ตอบ


10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด

    ตอบ   การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large-group communication) หรือการพูดในที่สาธารณะชน เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกจำนวนมากจนไม่สามารถรู้จักซึ่งกันและกันได้อย่างทั่วถึง ลักษณะการสื่อสารจะเป็นไปในทางการอภิปราย การบรรยาย หรือการปาฐกถา ซึ่งการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่นี้จะต้องมีหัวหน้าควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเป็นอย่างเป็นทางการ