วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา







1.       (Distance Education)
การศึกษาทางไกล


เนคเทค (2545) กล่าวว่าการจัดการศึกษาทางไกลเป็นการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อต่างๆ เน้นการศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเวลาศึกษาหาความรู้จากสื่อต่างๆ ที่หลากหลายด้วยตนเอง กำหนดสถานที่เรียนเอง กำหนดเวลาหยุดพักเอง นับว่าเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งหัวใจสำคัญในการเรียนระบบนี้ ก็คือ สื่อต้องมีหลากหลาย และมีการจัดเตรียมอย่างเป็นระบบ ต้องอาศัยนวัตกรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เหมาะสมมาช่วยเสริม
รูปแบบการศึกษาทางไกล
DLRN Research Associate (1995) กล่าวว่ารูปแบบการศึกษาทางไกลมี  2 รูปแบบ คือ ซิงโครนัส (synchronous) และ อะซิงโครนัส (asynchronous)
1.  รูปแบบซิงโครนัส  เป็นรูปแบบที่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดาผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด ต้องมีการนัดเวลา สถานที่ และบุคคล  ประโยชน์ของรูปแบบซิงโครนัสก็คือปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน รูปแบบซิงโครนัสได้แก่ Interactive TV   audiographics, computerconferencing, IRC และ MOO
2. รูปแบบอะซิงโครนัส  เป็นรูปแบบที่ไม่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดานักเรียน และผู้สอน นักเรียนไม่ต้องรวมกลุ่มในสถานที่เดียวกันและเวลาเดียวกัน  นักเรียนอาจจะเลือกช่วงเวลา และวัสดุการเรียนการสอนด้วยตัวเอง แล้วจัดตารางเวลาของตัวเอง รูปแบบอะซิงโครนัสยืดหยุ่นกว่ารูปแบบซิงโครนัส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการติดต่อสื่อสารเช่นเดียวกันกับอีเมล์ รูปแบบอะซิงโครนัสยอมและสนับสนุนการพัฒนากลุ่มชน รูปแบบของการส่งพร้อมกับอีเมล์ listservs, บทเรียนเทปเสียง บทเรียนวิดิทัศน์ บทเรียนทางไปรษณีย์  และ บทเรียนทางเว็บ (แม้ว่าในอนาคตระบบเวบจะเป็นไปได้มากในการใช้รูปแบบซิงโครนัสประโยชน์ของการศึกษาทาง ไกลรูปแบบอะซิงโครนัสคือ ทางเลือกของผู้เรียนในเรื่องสถานที่และเวลา และมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนทั้งหมด ส่วนข้อจำกัดก็คือปฏิกิริยาสัมพันธ์นั้นขึ้นอยู่กับการใช้อีเมล์ซึ่งต้องอาศัยการเขียนในการติดต่อแลกเปลี่ยนกัน การศึกษาทางไกลในประเทศไทย
          เชาวลิต ตนานนท์ชัย (2546: 33-36)     กล่าวว่าการปฏิรูปการศึกษาส่งผลให้เกิดการปรับ เปลี่ยนการศึกษาทั้งระบบนับตั้งแต่การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอน ในส่วนของการบริหารจัดการนั้น เน้นให้มีการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อตอบสนองการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่ มาตรา 37 
ได้กำหนดว่ากระทรวงอาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมการบริการและจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาได้
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
       ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ได้กล่าวถึงมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี (กาญจนภิเษก) สถานีรับส่งวิทยุโทรทัศน์ที่โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แพร่ภาพออกอากาศผ่านดาวเทียมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหลายสาขาวิชาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6  วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลรองรับในหลักสูตรวิชาชีพแขนงต่าง ๆ เช่น คหกรรมศาสตร์ ช่างยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตวังไกลกังวล ก็เปิดรับนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย                
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน 50 ล้านบาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นทุนประเดิมก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น และหลังจากนั้นองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลอย่างพร้อมเพียง นอกจากนี้ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนวังไกลกังวล ร่วมกับมูลนิธิฯ ถ่ายทอดสดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาแพร่ภาพทางโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง นับเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน ไม่ว่าร่ำรวยหรือยากจนในทุกภูมิภาคของประเทศได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูผู้สอน โดยเฉพาะในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนชนบทห่างไกลอีกด้วย ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนวังไกลกังวล กับโรงเรียนปลายทาง (Distance Schools) ในพื้นที่ต่างๆ จะมีลักษณะของการโต้ตอบ หรือเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Interactive Communication) ในกรณีของการสอบถามปัญหาหรือคำถามต่างๆ    
            
การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มุ่งผลด้านขยายโอกาสในเชิงปริมาณ มีผลให้สถานศึกษาต่างๆ ที่จัดการศึกษาในระบบชั้นเรียน มีโอกาสขยายการดำเนินงานได้ในวงกว้างมากขึ้น สามารถเข้าถึงนักเรียน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว                ในด้านคุณภาพนั้น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมก็ได้มีส่วนช่วยทำให้นักเรียนในชนบทที่ห่างไกล มีโอกาสได้รับความรู้ และศึกษาเล่าเรียนเท่า
เทียมกับนักเรียนในเมือง รวมทั้งยังส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอีกด้วย     

              พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ซึ่งรวมถึงคณะ กรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 ณ ศาลาดุสิดาลัย ใจความพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ได้พระราชทานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมว่า ... ส่วนที่ได้กล่าวถึงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนั้น ก็เป็นโครงการที่มาหนุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เหมือนกัน เพราะว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ก็หมายความว่าเด็กได้สามารถที่จะเรียนวิชาการต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านภาษาได้ดี ก็สามารถที่จะดำรงชีวิตได้ ได้ดี ได้ดีมาก นอกจากนั้นโรงเรียนที่รายการของการศึกษาทางดาวเทียมนี้ ก็ได้พยายามที่จะให้นักเรียนมีความรู้ทางจริยธรรมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ก็บ่นกันว่า เยาวชนมักจะไม่ค่อยมีจริยธรรม ไม่ค่อยมีความดี ความดีไม่มี เลยทำให้เกิดความเดือดร้อนทั่วประเทศ เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เกี่ยวข้องกับการรุนแรง ความรุนแรงต่างๆ ฉะนั้นการสอนของโครงการการศึกษาทางดาวเทียมนั้น ก็จะทำให้ราษฎรของประเทศชาติ มีคุณสมบัติ มีคุณภาพดีขึ้น ...



สรุป
                การศึกษาทางไกล เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ และเวลา และสามารถบริการแก่ทุกคนที่ต้องการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ เป็นผลมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกเนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี  มีความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลาอย่างไร้ขอบเขต เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้มนุษยชาติดำรงอยู่ได้และสามารถตามทันการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน กระจายการเรียนการสอนให้แพร่หลายอย่างกว้างขวาง เข้าถึงผู้เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา  และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง         


2 . “Asynchronous Learning”
มิติใหม่แห่งการศึกษาไทยไร้พรมแดน

คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียน ที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ  ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง  ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face – to – Face Instruction)
Asynchronous Learning 
 แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์  เพื่อการศึกษาทำให้สามารถขจัดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีเวลาตรงกัน ใน ลักษณะตารางสอน  (Synchronous Learning) มีสถานที่ตรงกัน อาจจะเป็นห้องเรียน หรือสถานที่ ใดที่หนึ่งจึงจะมีกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในลักษณะ Face – to – Face  โดยที่ ผู้เรียนและผู้สอน  ไม่จำเป็นต้อง มีเวลาและสถานที่ตรงกัน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการ ของผู้เรียนเอง โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น
·         Multimedia Computer
·          Telephone และ Computer Linking Infrastructure
·         The Internet และ World Wide Web
·         E – Mail
·         Conference System
·         อื่น ๆ เช่น Audio – Video 
ดังนั้น Asynchronous Learning จึงเป็นวิธีการในการจัดการเรียนการสอนที่แปลกใหม่ไปจากเดิม สามารถนำมาใช้และปฏิบัติได้ดี จึงเป็นนวัตกรรมหนึ่งทางการศึกษาไทยที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

คลิปวีดีโอนวัตกรรมทางการศึกษา








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น