วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555





 1   ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
.. ๒๕๔๕ ได้ระบุไว้ในหมวด ๙ ประกอบด้วย ๔ ส่วนคือ
. สื่อโสตทัศน์
. สื่อมวลชน
. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
 ๔. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น


2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ
1.สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (projected aids) เช่น
 1.1 สไลด์ใช้กับเครื่องฉายสไลด์
 1.2 แผ่นภาพโปร่งใสกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
 1.3 ฟิล์มภาพยนตร์กับเครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น



2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected aids) เช่น รูปภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น

3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio aids) เช่น เทปเสียง แผ่นซีดี วิทยุเป็นต้น
  

3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
(Edgar Dale,1965)
เอ็ดการ์ เดลย์ (Dale, 1969) 

ขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภท ดังนี้
1.  ประสบการณ์ตรง  เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  ซึ่งเกิดจากการได้ปฏิบัติกิจกรรมและได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง
2.  ประสบการณ์รอง  เป็นประสบการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด เนื่องจากประสบการณ์ตรงบางอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง อาจเป็นอันตรายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้  อาจมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน  มีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป    ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ จึงจำเป็นต้องจำลองหรือเลียนแบบให้มี  ลักษณะที่ใกล้เคียงหรือเหมือนจริงมากที่สุด  เพื่อความสะดวก ปลอดภัยและง่ายต่อความเข้าใจ  เช่น  สถานการณ์จำลอง  หุ่นจำลอง   เป็นต้น
3.  ประสบการณ์นาฏการ เป็นการจำลองสถานการณ์อย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความเหมือนหรือใกล้เคียงกับประสบการณ์จริง  เพื่อจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนด้วยเหตุที่มี ข้อจำกัดต่างๆ ได้แก่   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต  สถานที่ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรม  ซึ่งไม่สามารถจัดเป็นประสบการณ์รองได้   เช่น  การแสดงละคร  บทบาทสมมุติ  เป็นต้น
4.  การสาธิต  เป็นการกระทำหรือแสดงให้ดูเป็นแบบอย่างประกอบการอธิบายหรือบรรยาย
5.  การศึกษานอกสถานที่  เป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ได้จากแหล่งความรู้ภายนอกห้องเรียนในสภาพความเป็นจริง 
6.  นิทรรศการ  เป็นการนำประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้หลาย ๆ ด้าน มาจัดแสดงผสมผสานร่วมกัน
7.  โทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นประสบการณ์ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ   แต่โทรทัศน์  มีความเป็นรูปธรรมมากกว่าภาพยนตร์  เนื่องจากโทรทัศน์สามารถนำเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น  ในขณะนั้นมาให้ชมได้ในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า การถ่ายทอดสดในขณะที่ภาพยนตร์เป็น การบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องผ่านกระบวนการล้างและตัดต่อฟิล์มก่อนจึงจะนำมาฉายให้ชมได้
8.  การบันทึกเสียง วิทยุและภาพนิ่ง เป็นประสบการณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาหรือทางหู  เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
9.  ทัศนสัญลักษณ์  เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา  
10. วจนสัญลักษณ์ เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา



4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ  เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก  ระหว่าผู้ส่ง-ผู้รับ  ผ่านสื่อ ช่องทาง  ระบบเพื่อการติดต่อ  รับส่งข้อมูล   ซึ่งกันและกัน







5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
ตอบ   สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel)
เพราะสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับ เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิทัศน์  เครื่องรับโทรสาร  เครื่องขยายเสียง  รวมทั้งสถานที่และบรรยากาศบริเวณโดยรอบ






6.จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ

ตอบ





จากแบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ส่งสาร (Source or S) คือ ผู้เริ่มต้นการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการเข้ารหัส ซึ่งผู้ส่งสารจะทำหน้าที่ในการสื่อสารได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่าง ๆ 5 ประการคือ
1. ทักษะในการสื่อสาร เช่น ความสามารถในการพูด การเขียน และ ความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล เป็นต้น
2. ทัศนคติ หมายถึง วิธีการที่บุคคลประเมินสิ่งต่าง ๆ โดยความโน้มเอียงของตนเองเพื่อที่จะเข้าถึงหรือเป็นการหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น ๆ เช่น ทัศนคติต่อตนเอง ต่อหัวข้อของการสื่อสาร ต่อผู้รับสาร ต่อสถานการณ์แวดล้อมการสื่อสารในขณะนั้น เป็นต้น
3. ความรู้ หมายถึง ความรู้ของผู้ส่งสาร ในเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ บุคคลหรือกรณีแวดล้อมของสถานการณ์การสื่อสารในครั้งหนึ่ง ๆ ว่ามีความแม่นยำหรือถูกต้องเพียงไร
4. ระบบสังคม ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการสื่อสารของบุคคล เพราะบุคคลจะขึ้นอยู่กับกลุ่มทางสังคมที่ตนเองอยู่ร่วมด้วย
5. ระบบวัฒนธรรม หมายถึง ขนบธรรมเนียม ค่านิยม ความเชื่อ ที่เป็นของตัวมนุษย์ในสังคม และเป็นตัวกำหนดที่สำคัญในการสื่อสารด้วย เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคลต่างวัฒนธรรมกัน อาจประสบความล้มเหลวได้เนื่องจากความคิดและความเชื่อที่มีไม่เหมือนกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร

           ในแง่ของสาร (Message or M) นั้น เบอร์โล หมายรวมถึง ถ้อยคำ เสียง การแสดงออกด้วยสีหน้า อากัปกิริยาท่าทาง ที่มนุษย์สร้างขึ้นในขณะที่เป็นผู้ส่งสาร ถ้าความหมายเป็นทางการ ก็คือ ผลผลิตทางกายภาพที่เป็นจริงอันเกิดจากผลการเข้ารหัสของผู้ส่งสารนั่นเอง ตามความคิดของเบอร์โลนั้น สารมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. รหัสของสาร (message code) เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง หรือรหัสอื่น ๆ
2. เนื้อหา (content)
3. การจัดสาร (treatment) คือ วิธีการที่ผู้ส่งสารเลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การใช้ภาษา ไวยากรณ์ ศัพท์ รวมถึง คำถาม คำอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น สารที่ถูกจัดเตรียมไว้ดี จะทำให้เกิดการรับรู้ความหมายในผู้รับสารได้ 
             ส่วนช่องทาง (Channel or C) ช่องทาง ซึ่งเป็นพาหนะนำสารไปสู่ผู้รับสาร และตามทัศนะของเบอร์โล ทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนำสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ประการของมนุษย์ ได้แก่
1. การเห็น
2. การได้ยิน
3. การสัมผัส
4. การได้กลิ่น
5. การลิ้มรส
ประการสุดท้ายในด้านของผู้รับสาร (Receiver or R) นั้น ก็จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติด้านต่าง ๆ 5 ประการ เช่นเดียวกับผู้ส่งสาร คือ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบสังคมและระบบวัฒนธรรม



7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ
1. คำพูด (Verbalisn)
2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)
4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
6. การไม่ยอมรับ (Inperception)


8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ      สาร (Message)   เป็นเรื่องราวที่ส่งออกมาจากผู้ส่งสาร เช่น ข่าวสารความรู้ ความคิดเห็น บทเพลง ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลเหล่านี้  
              e-Learning  เพราะ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อระหว่างบุคคล คือผู้เรียนกับผู้สอน
   

9.ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล
ตอบ


10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด

    ตอบ   การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large-group communication) หรือการพูดในที่สาธารณะชน เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกจำนวนมากจนไม่สามารถรู้จักซึ่งกันและกันได้อย่างทั่วถึง ลักษณะการสื่อสารจะเป็นไปในทางการอภิปราย การบรรยาย หรือการปาฐกถา ซึ่งการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่นี้จะต้องมีหัวหน้าควบคุมการปฏิบัติงานอย่างเป็นอย่างเป็นทางการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น